สุนทรียภาพของการแสดงนาฏศิลป์
สุนทรียภาพ หมายถึง ความงามในธรรมชาติ หรือในงานศิลปะที่แต่ละคน สามารถเข้าใจและรู้สึกได้ ดังนั้น สุนทรียภาพของการแสดงนาฏศิลป์จึงเป็นความ
เข้าใจและรู้สึกถึงความงามของการแสดงนาฏศิลป์นั้น ๆ
ในการศึกษาทางด้านสุนทรียภาพของการแสดงนาฏศิลป์นั้น
เป็นไปตามหลักการทางสุนทรียศาสตร์
ซึ่งเป็นวิชาเกี่ยวกับความรู้สึกในการรับรู้ความงาม ได้แก่หลักเกณฑ์ด้านความงาม
ลักษณะต่าง ๆ ของความงาม คุณค่าต่าง ๆ ของความงามและรสนิยม
ซึ่งเกี่ยวข้องกับการศึกษาความเป็นอยู่ พฤติกรรมและจิตใจของมนุษย์
ในด้านความรู้สึก การตอบสนองต่อสิ่งสวยงามและสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อมวลชน
โดยมีความสัมพันธ์กับประสบการณ์โดยตรงที่สร้างความพอใจและมีผลต่อความรู้สึกเฉพาะตนตลอดจนมีการสอบสวน
และเปิดเผยหลักเกณฑ์ความงามให้เห็นเด่นชัด ได้ด้วย
ซึ่งการศึกษาด้านสุนทรียภาพของการแสดงนาฏศิลป์ไทยเป็นการศึกษาและพิจารณาความงามหรือสุนทรียะ
มี ๓ ด้าน คือ
๑. สุนทรียะทางวรรณกรรม เป็นสุนทรียะด้านความงามทางตัวอักษร หรืองานประพันธ์
ได้แก่ ประเภทร้อยกรอง เช่น การแต่งคำประพันธ์ สุนทรียะประเภทร้อยกรองนี้ จะมีความงามของเนื้อหาสาระและศิลปะการใช้ถ้อยคำการเล่นคำ
เล่นอักษร เล่นสระ และเล่นเสียง ซึ่งก่อให้เกิดการโน้มน้าวความรู้สึกในแง่ของคติสอนใจต่าง
ๆ เช่น สุภาษิต คำพังเพย
๒. สุนทรียะทางดนตรี – ขับร้อง เป็นสุนทรียะด้านการรับฟัง
และขับร้องเพลงประกอบการแสดงนาฏศิลป์ ซึ่งสุนทรียภาพทางด้านนี้ต้องอาศัยทั้งผู้บรรเลง
ผู้ร้อง และผู้ฟัง
เนื่องจากในเพลงไทยมักจะมีทั้งการบรรเลงดนตรีและการขับร้องไว้ด้วยกัน
ตลอดจนมีผู้ฟังเพลงที่มาช่วยกันสร้างสุนทรียะทางดนตรีและการขับร้องร่วมกัน
ที่มารูป : http://mingzazanew.blogspot.com/p/blog-page_91.html
๓.สุนทรียะทางด้านท่ารำ ความงามของท่ารำอย่างมีสุนทรียะนั้นพิจารณาได้จากความถูกต้องตามแบบแผนของท่ารำ
ได้แก่ ท่ารำถูกต้อง จังหวะถูกต้อง สีหน้าอารมณ์ความรู้สึกที่สอดคล้องไปกับท่ารำ
ทำนองเพลงและบทบาทตามเนื้อเรื่องท่ารำสวยงาม มีความแตกฉานด้านท่ารำ
มีท่วงทีลีลาเป็นเอกลักษณ์ของตนถ่ายทอดท่ารำออกมาได้เหมาะสม
ที่มารูป : http://mingzazanew.blogspot.com/p/blog-page_91.html
แหล่งที่มา http://mingzazanew.blogspot.com/p/blog-page_91.html
https://sites.google.com/site/klumsarakarreiynrusilpm4/home/bth-thi1-kar-subsan-natsilp-thiy
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น