ประโยชน์และการอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทย
ประโยชน์ของนาฏศิลป์
· ประโยชน์โดยทางตรง
1. ใช้เป็นวิชาชีพ ผู้ที่ศึกษาวิชานาฏศิลป์ อย่างจัดเจน ชำนิชำนาญ
สามารถยึดเป็นอาชีพได้ เพราะในกิจกรรมต่าง ๆ วิชานาฏศิลป์เข้าไปมีส่วนร่วมอยู่เสมอ
2. เป็นการบริหารร่างกายให้มีสุขภาพสมบูรณ์ โดยเฉพาะวิชานาฏศิลป์นั้น
ในขณะฝึกหัดนัยว่าเป็นการออกกำลังกายอย่างดีเยี่ยม ได้บริหารร่างกายทั่วทุกส่วน
·
ประโยชน์ทางอ้อม
1. นาฏศิลป์ช่วยให้ผู้เรียนมีจิตใจอ่อนโยน มีสติ และมีสมาธิที่ มั่นคง
ไม่หวั่นไหวไปกับสิ่งรอบข้าง ซึ่งทำให้ผู้นั้นมีความสามารถในขณะปฏิบัติงานต่าง ๆ
ได้ผลมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นช่วยผ่อนคลายและความเครียดของจิตใจ
ดังจะเห็นได้ว่า ศิลปินในแขนงนี้มีอายุยืนยาว มีสุขภาพดีเป็นส่วนมาก
2. ช่วยปรับปรุงบุคลิกภาพให้งดงามยิ่งขึ้น
ผู้ที่เรียนนาฏศิลป์จะมีลักษณะพิเศษเห็นได้เด่นชัด อาทิ ขณะเวลานั่ง หรือ ยืน
จะสง่างาม เพราะได้รับการฝึกฝนวิธีการนั่งยืนมาเป็นอย่างดี
ในขณะเดียวกันเป็นผู้ที่รู้จักควบคุมอารมณ์ไม่ตื่นตระหนก และกล้าที่จะแสดงออก
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นผลจากประสบการณ์ในการแสดงทั้งสิ้น
ที่มารูป : https://sites.google.com/site/nangsawkalyasukhci/prayochn-khxng-natsilp
แนวทางการอนุรักษ์นาฏศิลป์
๑. การค้นคว้าวิจัย ควรศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาของไทยในด้านต่างๆ
ของท้องถิ่น จังหวัด ภูมิภาค และประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิปัญญาที่เป็น
ภูมิปัญญาของท้องถิ่น มุ่งศึกษาให้รู้ความเป็นมาในอดีต
และสภาพการณ์ในปัจจุบัน
๒. การอนุรักษ์ โดยการปลุกจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่าแก่นสาระและ
ความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามประเพณีและ
วัฒนธรรมต่างๆ สร้างจิตสำนึกของความเป็นคนท้องถิ่นนั้นๆ
ที่จะต้องร่วมกันอนุรักษ์ ภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
รวมทั้งสนับสนุนให้มีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหรือ พิพิธภัณฑ์ชุมชนขึ้น
เพื่อแสดงสภาพชีวิตและความเป็นมาของชุมชน อันจะสร้างความ
รู้และความภูมิใจในชุมชนท้องถิ่นด้วย
๓. การฟื้นฟู โดยการเลือกสรรภูมิปัญญาที่กำลังสูญหาย หรือที่สูญหายไปแล้วมา
ทำให้มีคุณค่าและมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในท้องถิ่น โดยเฉพาะพื้นฐานทาง
จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยม
๔. การพัฒนา
ควรริเริ่มสร้างสรรค์และปรับปรุงภูมิปัญญาให้เหมาะสมกับยุคสมัยและเกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
โดยใช้ภูมิปัญญาเป็นพื้นฐานในการรวมกลุ่มการพัฒนาอาชีพควรนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีมาช่วยเพื่อต่อยอดใช้ในการผลิต การตลาด และการบริหาร
ตลอดจนการป้องกันและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
๕. การถ่ายทอด โดยการนำภูมิปัญญาที่ผ่านมาเลือกสรรกลั่นกรองด้วยเหตุและผลอย่างรอบคอบและรอบด้าน
แล้วไปถ่ายทอดให้คนในสังคมได้รับรู้ เกิดความเข้าใจ ตระหนักในคุณค่า
คุณประโยชน์และปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม โดยผ่านสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา
และการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆ
๖. ส่งเสริมกิจกรรม โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการสืบสานและพัฒนาภูมิปัญญาของชุมชนต่างๆ
เพื่อจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
๗. การเผยแพร่แลกเปลี่ยน
โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาและวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง
โดยให้มีการเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างๆ ด้วยสื่อและวิธีการต่างๆ อย่างกว้างขวาง
รวมทั้งกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก
๘. การเสริมสร้างปราชญ์ท้องถิ่น
โดยการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของชาวบ้าน
ผู้ดำเนินงานให้มีโอกาสแสดงศักยภาพด้านภูมิปัญญา ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่
มีการยกย่อง
ที่มารูป : https://kruploykpsw.wikispaces.com
แหล่งที่มา https://sites.google.com/site/klumsarakarreiynrusilpm4/home/bth-thi1-kar-subsan-natsilp-thiy
https://sites.google.com/site/nangsawkalyasukhci/prayochn-khxng-natsilp
แย่มาก
ตอบลบหนักหัวแม่มึงหรือ
ลบแย่ตรงไหนวะ
ลบเนือหาดีมากครับ
ลบmammoth ม่ายดี
ลบจอกจิงจิ๊งงงงงงงงงงง
ลบมอธเดกม่ายดี
ลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ลบคลิปนี้ไม่ดีหรอ
ลบดีคับ
ตอบลบเนื้อหาดีครับ
ตอบลบเนื้อหาดีมากครับลอกลงใบงานแปป
ตอบลบขอบคุณ
ตอบลบขอบคุณข้อมูลดีๆครับ ช่วยเสริมเข้าในแผนการสอนนาฏศิลป์ดีมากเลย
ตอบลบเนื้อหาดีมากเลยค่ะ
ตอบลบยาวเกิน แย่มาก
ตอบลบตัวเองดิแย่มาก
ลบเนื้อหาดีม๊ากค่ะ💗🤟
ตอบลบก็ดีอ่ะเเต่มีข้อเสีย
ตอบลบสรุปให้สั้นๆหน่อยครับ5555555
ตอบลบยาวมากกกกก
ตอบลบหีดำๆ
ตอบลบข้อความติดกันไปนิดนึง อยากให้ระยะเว้นบรรทัดเยอะกว่านี้
ตอบลบดีเป็นแนวทางใครมองเห็นเพิ่มก็เพิ่มเอง
ตอบลบHomnoon
ตอบลบHomnoon
ตอบลบ