นาฏยศัพท์และภาษาท่า


นาฏยศัพท์และภาษาท่า


 ภาษาท่านาฏศิลป์  เป็นการนำท่าทางต่างๆ  และสีหน้าที่มีอยู่ตามธรรมชาติ   เช่น  คำพูด กริยาอาการ  อารมณ์ ความรู้สึก  มาปฏิบัติเป็นท่าทางนาฏศิลป์ไทยที่มีความหมายแทนคำพูด ให้สอดคล้องกับจังหวะเพลงและการขับร้อง  การฝึกปฏิบัติ  การฝึกหัดภาษาท่าจะต้องฝึกให้ถูกต้องตามแบบแผนเพื่อจำ    ได้สื่อความหมายได้ โดยตรง ซึ่งจะทำให้ผู้ชมเข้าใจความหมายที่ผู้แสดงต้องการสื่อความหมายมากขึ้น

นาฏยศัพท์ ยังแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ดังนี้

๑. นามศัพท์
หมายถึง ศัพท์ที่เรียกชื่อท่ารำ หรือชื่อท่าที่บอกอาการกระทำของผู้นั้น เช่น วง จีบ สลัดมือ คลายมือ กรายมือ ฉายมือ ปาดมือ กระทบ กระดก ยกเท้า ก้าวเท้า ประเท้า ตบเท้า กระทุ้ง กระเทาะ จรดเท้า แตะเท้า ซอยเท้า ขยั่นเท้า ฉายเท้า สะดุดเท้า รวมเท้า โย้ตัว ยักตัว ตีไหล่ กล่อมไหล่



๒. กิริยาศัพท์
หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกในการปฏิบัติบอกอาการกิริยา ซึ่งแบ่งออกเป็ง
ศัพท์เหริม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกเพื่อปรับปรุงท่าทีให้ถูกต้องสวยงาม เช่น กันวง ลดวง ส่งมือ ดึงมือ หักข้อ หลบศอก เปิดคาง กดคาง ทรงตัว เผ่นตัว ดึงไหล่ กดไหล่ ดึงเอว กดเกลียวข้าง ทับตัว หลบเข่า ถีบเข่า แข็งเข่า กันเข่า เปิดส้น ชักส้น
ศัพท์เสื่อม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อท่ารำหรือท่วงทีของผู้รำที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน เพื่อให้ผู้รำรู้ตัว และแก้ไขท่าทีของตนให้ดีขึ้น เช่น วงล้า วงคว่ำ วงเหยียด วงหัก วงล้น คอดื่ม คางไก่ ฟาดคอ เกร็งคอ หอบไหล่ ทรุดตัว ขย่มตัว เหลี่ยมล้า รำแอ้ รำลน รำเลื้อย รำล้ำจังหวะ รำหน่วงจังหวะ


๓. นาฏยศัพท์เบ็ดเตล็ด
หมายถึง ศัพท์ต่างๆที่ใช้เรียกในภาษานาฏศิลป์ นอกเหนือไปจากนามศัพท์ และกิริยาศัพท์ เช่น จีบยาว จีบสั้น ลักคอ เดินมือ เอียงทางวง คืนตัว อ่อนเหลี่ยม เหลี่ยมล่าง แม่ทา ท่า-ที ขึ้นท่า ยืนเข่า ทลายท่า นายโรง พระใหญ่ พระน้อย นางกษัตริย์ นางตลาด ผู้เมีย ยืนเครื่อง ศัพท์

ภาษาท่าแบ่งออกเป็น ๒  ประเภท
๑. ภาษาท่าที่มาจากธรรมชาติ เป็นท่าทางที่ดัดแปลงมาจากท่าทางตามธรรมชาติของคนเรา แต่ปรับปรุงให้ดูสวยงามอ่อนช้อยมากยิ่งขึ้น  โดยใช้ลักษณะการ ร่ายรำเบื้องต้นมาผสมผสาน  เช่น  ท่ายิ้ม  ท่าเรียก  ท่าปฏิเสธ  ท่าร้องไห้  ท่าดีใจ  ท่าเสียใจ  ท่าโกรธ 
๒. ภาษาท่าที่มาจากการประดิษฐ์โดยตรง เป็นท่าทางที่ประดิษฐ์ ขึ้นเพื่อให้เพียงพอใช้กับคำร้องหรือคำบรรยาย ที่จะต้องแสดงออกเป็นท่ารำ  เช่น    สอดสร้อยมาลา  เป็นต้น
ภาษาท่าเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ความหมายระหว่างผู้แสดงและผู้ชม ในการแสดงนาฏศิลป์ เพราะทำให้ผู้ชมทราบว่าผู้แสดงกำลังสื่ออะไร  หรือกำลังมีอารมณ์อย่างไร
ภาษาท่าสามารถแบ่งได้เป็น

  ๓  ลักษณะ คือ
๑.    ภาษาท่าที่ใช้แทนคำพูด
๒.   ภาษาท่าที่ใช้แทนกิริยาอาการต่างๆ 
๓.   ภาษาท่าที่ใช้แสดงอารมณ์ ความรู้สึกภายใน
ภาษาท่าทางนาฏศิลป์
ภาษาท่าทางนาฏศิลป์  ในชีวิตประจำวันทุกวันนี้มนุษย์เราใช้ท่าทางประกอบการพูดหรือบางครั้งมีการแสดงสีหน้า ความรู้สึก เพื่อเน้นความหมายด้วยในทางนาฏศิลป์ ภาษาท่าเสมือนเป็นภาษาพูด โดยไม่ต้องเปล่งเสียงออกมา แต่อาศัยส่วนประกอบอวัยวะของร่างกาย แสดงออกมาเป็นท่าทาง โดยเลียนแบบท่าทางธรรมชาติ เพื่อให้ผู้ชมสามารถเข้าใจได้ การปฏิบัติภาษาท่าทางนาฏศิลป์แบ่งออกได้ ดังนี้

1. ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ที่ใช้แทนคำพูด เช่น ฉัน เธอ ท่าน ปฏิเสธ ท่าเรียก ท่าไป
2. ภาษาท่าทางนาฏศิลป์อริยาบทหรือกิริยาอาการ เช่น ท่ายืน ท่าเดิน ท่านั่ง
3. ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ที่ใช้แสดงอารมณ์ความรู้สึก เช่น ดีใจ เสียใจ โกรธ เศร้าโศก








แหล่งข้อมูล   https://sites.google.com/site/natysaphthlaeaphasatha405/home/khwam-hmay-naty-saphth

1 ความคิดเห็น: